Monday, April 18, 2011

เมื่อทุกข่ายสื่อสารล่มสลาย สิ่งที่ช่วยได้คือ วิทยุสมัครเล่น


ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องของวิทยุสมัครเล่น อาจจะได้เคยพบเห็น หรือได้ยินเรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่บ้าง จากความช่วยเหลือด้านการสื่อสารฉุกเฉิน และภัยพิบัติต่างๆ เช่นพายุเกย์ (Typhoon Gay - 1989 TY 32W) บริเวณอ่าวไทย ที่ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงที่จังหวัดชุมพร และจังหวัดใกล้เคียงในช่วงปี พ.ศ. 2533 หรือจากเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 ที่นักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย ได้รวมตัวกันทำงานเป็นเครือข่ายสื่อสารฉุกเฉินโดยพร้อมเพรียงกัน ตั้งแต่การประสานงานช่วยเหลือจากพื้นที่เกิดเหตุในจุดต่างๆ จนไปถึงการประสานงานระหว่างประเทศ บางคนอาจจะเคยดูภาพยนตร์เรื่อง Frequency หรือ Contact รวมทั้งรายการโทรทัศน์ที่เป็นนักแสดงตลกจากประเทศอังกฤษ HANCOCK (ตอน The Radio HAM) ล้วนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิทยุสมัครเล่นทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าการทำเป็นภาพยนตร์อาจจะมีการปรุงแต่งให้วิธีการและเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นแก่ผู้ที่มิได้เป็นนักวิทยุสมัครเล่นก็ตาม แต่สิ่งที่ออกจะเหมือนๆกันและเข้าใจได้คือ นักวิทยุสมัครเล่นเป็นพวกที่ชอบเล่นกับอุปกรณ์วิทยุเพื่อสื่อสารพูดคุยกันเป็นงานอดิเรก และมีความสามารถที่จะเข้าให้การช่วยเหลือสังคมเมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆได้ด้วยความเต็มใจ

ความเป็นมืออาชีพ ของวิทยุสมัครเล่น อาจารย์จำลอง เชื้อไทย (HS1AAM ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว - Silent key) ได้เคยกล่าวไว้ว่าคำว่าวิทยุสมัครเล่นมีความหมายโดยตรงว่า เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้ทำเป็นอาชีพโดยเฉพาะนักวิทยุสมัครเล่นที่ผ่านการสอบได้รับใบอนุญาตนั้น มาจากหลากหลายอาชีพและความชำนาญ แต่กลับมีความสนใจตรงกันในเรื่องวิทยุสื่อสารและเป็นเรื่องที่เล่นด้วยความสนใจ ในขณะที่เครือข่ายวิทยุสื่อสารอื่นๆเป็นเรื่องที่ต้องทำเพราะเป็นอาชีพ ดังนั้นจึงเกิดความแตกต่างในด้านแรงจูงใจ และความสนุกสนานที่ได้รับ นั่นอาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักวิทยุสมัครเล่นนั่งเฝ้าวิทยุ หรืออุปกรณ์สื่อสารในกิจกรรมได้เกือบตลอดเวลาโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ แต่อย่างไรก็ตามการให้การช่วยเหลือในเหตุการณ์ หรือภาวะฉุกเฉิน ต่างๆ มักจะมีคำต่อว่าต่อขานเกิดขึ้นควบคู่กับคำชมเสมอ จากคำกล่าวของอาจารย์ จำลอง เชื้อไทย นับเป็นความสอดคล้องที่ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือคู่มือการสื่อสารฉุกเฉิน(Emergency Communication Handbook – ARRL) ในหน้า 1-1 ที่มีใจความแปลได้ว่า

ความหมายของวิทยุสมัครเล่น ตามความเป็นจริงคือ เรามิได้พยามทำงานนี้เพื่อผลตอบแทน แต่มิได้หมายความว่าความพยาม หรือการปฏิบัติงานของเราจะด้อยกว่าพวกทำงานแบบเดียวกันเป็นอาชีพ การถือว่าเป็นมืออาชีพ (Professionalism) นั้น คือการทำงานให้สำเร็จบรรลุเป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเกิดความยุ่งยาก
อื่นๆน้อยที่สุด

ดังนั้นการที่นักวิทยุสมัครเล่นเข้าไปช่วยงานของหน่วยงานใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกาชาด (Red Cross) หรือหน่วยราชการอื่นๆตามที่ได้รับการร้องขอให้ช่วยด้านงานสื่อสารฉุกเฉิน (Emcomm) มีข้อคิดที่ควรพิจารณาทำความเข้าใจว่า การเป็นอาสาสมัครแก่องค์กรที่เข้าไปให้การช่วยเหลือนั้น เราไปเพื่อที่จะช่วยเรื่องการสื่อสารฉุกเฉิน ตามสถานการณ์และความเหมาะสมในฐานะนักวิทยุสมัครเล่น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยที่ไม่เป็นการสร้างปัญหาเพิ่มหากเรายึดหลักการทำงานแบบนี้จะช่วยลดความรู้สึกที่เป็นผลด้านลบต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะระหว่างเวลาที่วุ่นวายสับสนและเต็มไปด้วยความตึงเครียด

อ่านฉบับเต็ม(แบบ PDF)ได้ที่ http://goo.gl/cfztE

2 Comments:

At Friday, January 12, 2018 at 2:03:00 AM GMT+7 , Blogger Unknown said...

To HS1WFK
สวัสดีครับพี่ ผม E27CVL
ไฟล์แบบเต็มยังมีอยู่ไหมครับ ถ้ามีอยู่รบกวนส่งให้ผมหน่อยได้ไหมครับ ไปดาวโหลดแล้วเขาแจ้งว่าไม่มีแล้ว
ส่งมาที่เมล์ E27CVL@GMAIL.COM
ขอบคุณมากครับ

 
At Friday, January 12, 2018 at 2:04:00 AM GMT+7 , Blogger Unknown said...

To HS1WFK
สวัสดีครับพี่ ผม E27CVL
ไฟล์แบบเต็มยังมีอยู่ไหมครับ ถ้ามีอยู่รบกวนส่งให้ผมหน่อยได้ไหมครับ ไปดาวโหลดแล้วเขาแจ้งว่าไม่มีแล้ว
ส่งมาที่เมล์ E27CVL@GMAIL.COM
ขอบคุณมากครับ

 

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]

<< Home