Tuesday, May 31, 2011

มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) เชิญนักวิทยุสมัครเล่นร่วมทดสอบดาวเทียมจิ๋ว

by Phatanadit Kulphaichitra on Tuesday, 31 May 2011 at 09:29



กลุ่มนักศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้ร่วมกันพัฒนาดาวเทียมขนาดเล็บมือซึ่งอาจเดินทางไปยังดาวเสาร์ภายในสิบปีข้างหน้า เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบทางเคมี รังสี และผลกระทบอนุภาค ในช่วงที่ชั้นผ่านบรรยากาศ ดาวเทียมจิ๋วต้นแบบสามชุดมีชื่อว่า Sprite (เทพดา) ซึ่งมีขนาดเพียง 1 ตารางนิ้วได้ถูกติดตั้งบริเวณภายนอกของสถานีอวกาศนานาชาติ (MISSE-8) ในปฏิบัติการก่อนหน้านี้ เพื่อศึกษาความคงทนและการส่งสัญญาณจากสภาพแวดล้อมรุนแรงไร้เครื่องป้องกัน

นายเซก แมนเชสเตอร์ (Zac Manchester) จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้อธิบายว่า ชิบที่ประกอบขึ้นมาเป็นดาวเทียมจิ๋วนี้จะส่งสัญญาณคงที่เป็นช่วงๆ (Beacons) ด้วยกำลังส่ง 10 มิลลิวัตต์ ที่ความถี่ 902 MHz ในโหมด MSK (Minimum-Shift-Keying) chipping rate 50 kbps ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้เชิญหน่วยงานวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียมในสหรัฐอเมริกา (AMSAT) เข้าร่วมการทดลองนี้ เพื่อทดสอบการรับสัญญาณอ่อนๆที่พื้นผิวโลก  

มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้จัดทำสถานีภาคพื้นดินซึ่งมีสายอากาศยากิ 18 dBi ต่อร่วมกับ GNU Radio และเครื่องรับ USRP (ดูรายระเอียดที่ www.ettus.com/products) สิ่งที่เป็นความท้าทายในกิจกรรมนี้คืออุปกรณ์จิ๋วที่ติดตั้งกับกับสถานีอวกาศฯ อยู่ในตำแหน่งที่อยู่ตรงกันข้ามกับโลก (anti-nadir side) โดยหวังให้เกิดการสะท้อนสัญญาณจากโครงสร้างสถานีอวกาศกลับมายังโลกเพื่อให้สามารถรับสัญญาณได้ //จบ

ข้อคิดเกี่ยวกับงานอาสาสมัคร...

by Phatanadit Kulphaichitra on Tuesday, 24 May 2011 at 10:44

อาสาสมัคร มิได้เป็นแค่ผู้ให้ 

งานอาสาสมัครมีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แต่ก็เป็นช่องทางได้รับผลตอบแทนด้วยเช่นกัน บางคนมีความอึดอัดกับคำว่า "ผลประโยชน์" จากงานอาสาสมัคร เพราะสืบทอดความคิดต่อๆกันมาว่า งานอาสาสมัครเป็นการให้เพียงอย่างเดียว โดยไม่ควรจะรับผลตอบแทนเพื่อตัวเอง ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นเข้าสู่งานอาสาสมัคร มาจากความปรารถนาเพื่อให้ความช่วยเหลือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว งานอาสาสมัครเป็นงานที่ได้รับการแลกเปลี่ยนโดยตรง อาจจะไม่ใช่ด้วยเงินค่าจ้าง แต่จะเป็นอย่างอื่นที่สำคัญมากเช่นกัน  


มา อาสา ทำไม

มีเหตุผลหลายอย่างที่ผู้คนเข้ามาทำงานอาสาสมัคร สำหรับบางคน งานอาสาสมัครเป็นโอกาสสำหรับตัวเองที่จะได้เรียนรู้เรื่องต่างๆที่จะเป็นรากฐานในการพัฒนาอาชีพของตัวเอง โดยจะสรุปได้ดังนี้
- หาความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญใหม่ๆ เพื่อเสริมให้ตัวเองมีความสามารถมากขึ้น
- เพิ่มเติมคุณสมบัติของตัวเองเพื่อประโยชน์ในการสมัครเข้าทำงานในเป้าหมายที่หลากหลายขึ้น
- เพิ่มการเป็นที่ยอมรับในสังคมต่างๆ
- ใช้ความรู้ความสามารถของตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น

สำหรับบางกลุ่ม สนใจเป็นอาสาสมัครเพราะผลประโยชน์ทางสังคม เช่น ได้เข้าสังคม ได้พบเพื่อนและกลุ่มคนใหม่ๆ หรือได้รู้จักกับชุมชนท้องถิ่น แต่เหตุผลสำคัญกว่านั้นคือ  
- เป็นการตอบแทนแก่องค์กรที่เข้าไปอาสา ทดแทนแก่ผลงานบางอย่างที่มีผลต่อผู้อาสานั้นทั้งในทางตรงและอ้อม
- ปรารถณาที่อยากให้ผู้อื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น
- สร้างกุศลกรรม
- ช่วยเรื่องสภาพแวดล้อม
- ช่วยผู้ด้อยโอกาส
- ต้องการรู้สึกมีคุณค่า
- ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ
- ต้องการความรู้สึกดี นอกเหนือจากชีวิตการงานที่กดดันวุ่นวาย
- สร้างความยอมรับของตัวเองในสังคม
- สร้างความเชื่อมั่นในตัวเองและแรงบันดาลใจ
- หาบทบาทอาสาสมัครที่ตรงกับความต้องการของตัวเอง 


รวบรวมจาก Volunteering England


ใครทำงานให้ใคร

งานอาสาต่างๆล้วนต้องได้รับคำสั่งหรือการมอบหมายหน้าที่จากผู้บริหารงานทั้งสิ้น การเข้าเป็นอาสาสมัครแก่หน่วยงานใดๆก็ตาม มันเป็นการยอมรับโดยปริยายแล้วว่า เรายอมรับและจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของหน่วยงานนั้นๆ  
แต่ต้องเป็นเงื่อนไขที่ผู้อาสาต้องยอมรับได้เช่นกัน หากเราไม่พร้อมหรือรู้สึกไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย ก็จงอย่าไปร่วมเป็นอาสาสมัครตั้งแต่ต้น หรือขอถอนตัวหากพิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสมที่จะอาสาทำงานต่อไป 


การให้ความชื่นชม(Recognize) แก่อาสาสมัคร

คำชื่นชมที่ให้แก่อาสาสมัคร นับเป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกับคนทำงานเพื่อค่าจ้างตอบแทน ยิ่งคำชื่นชมเป็นที่รับรู้กว้างขึ้นเท่าไร เปลียบเหมือนมูลค่าสิ่งสูงขึ้นเท่านั้น หน่วยงานที่ใช้อาสาสมัครในระดับสากลจะให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก และได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ดังนี้

1) คำชื่นชม เป็นเรื่องสำคัญของคนส่วนใหญ่ หากอาสาสมัครมิได้รับคำชื่นชมที่เหมาะสมแล้ว พวกเค้าอาจจะทิ้งงานอาสาที่ทำอยู่ได้ทุกเวลา
2) ให้คำชื่นชมบ่อยๆ เพราะมันอายุสั้น หลังจากอาสาสมัครทำงานผ่านไปช่วงหนึ่งแล้วไม่ได้ยินคำชื่นชม พวกเขาจะเริ่มสงสัยว่าความพยามของนั้นได้รับความขอบคุณหรือไม่ การเก็บรวบรวมการแสดงความชื่นชมไว้ไม่มีประโยชน์ การขอบคุณปีละครั้งไม่เพียงพอ
3) แสดงความชื่นชมในหลากหลายรูปแบบ และให้เหมาะสมต่องานและเหตุการณ์
4) แสดงออกด้วยความจริงใจ เหมาะสมต่อสถานการณ์
5) แสดงความชื่นชมที่ตัวผู้อาสา มิใช่แค่ที่ผลงาน
6) แสดงความชื่นชมให้สมราคาผลงาน เช่นอาสาสมัครช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสให้สกดคำว่า “แมว” ได้ บอกว่า “เก่งมาก” แต่หากอาสาสมัครช่วยเขียนโครงการณ์หรือระดมทุนสำเร็จ ให้แขวนป้ายใหญ่ๆแสดงความสำเร็จนั้น
7) ให้คำชื่นชมอย่างสม่ำเสมอ เช่นหากมีอาสาสมัครสองคนบรรลุเป้าหมายแบบเดียวกัน การแสดงความชื่นชมไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน หากมันแสดงออกถึงความชื่นชมต่อผลงานที่สำเร็จมา
8) ให้คำชื่นชมอย่างรวดเร็วต่อผลงาน 
9) ให้คำชื่นชม แตกต่างออกไปเป็นรายบุคคล ให้เป็นเรื่องเฉพาะคน เป็นการสร้างคุณค่าต่อความรู้สึกและกำลังใจมากกว่าพิธีการรวมๆ


รวบรวมจาก Hands On Network